รับผลิตกล่องสบู่ ราคาถูก

ราคา

ผลิตกล่องราคาถูก งานช้าไม่สวยเรื่องเยอะเอ๊ะอะก็เพิ่มเงินดองงานกว่าจะผ่านจนเป็นกล่องบรรจุภัณฑ์แสนยากโฆษณาอย่างสวย? จบอย่างแย่…. เห็นหน้าโปรไฟล์สวยนึกว่าสวยตามนั้นเราเข้าใจดี… เพราะเราอยู่กะระบบการพิมพ์พร้อมออกแบบกล่องมาตลอด เปลี่ยนเลยจร้า โรงพิมพ์จะถนัดเรื่องพิมพ์งานตรงๆ ออกแบบเขาก็จ้างช่างมาทำตามเงินเดือนดีไม่ดีก็ตามนั้น ราคาก็แพงแล้วที่สำคัญ ไม่ให้ไฟล์งานด้วย แก้ไขงานก็คิดเงิน กว่างานจะจบออกแบบบรรจุภัณฑ์จะจบ แล้วพอพิมพ์ก็ไม่ตรงแบบที่คิดเอาใว้ เพราะสือสารกันไม่เข้าใจ  พร้อมลดปัญหาการผลิตกล่องบรรจุภัณฑ์ยังละ เราพร้อมและจริงใจ….

กล่องกระดาษอาตร์กาดร์ 350 แกรม เคลือบเงา ไดคัท ปะกาว พร้อม 1,000 ใบละ 4.9 บาท / 500 ใบละ 8 บาท. / 100 ใบละ 24 บาท ปั้มทอง 1,500 บาท  ขนส่งคิดราคาตามจริง หรือรับที่โรงพิมพ์เองได้นะจร้า

รับพิมพ์และออกแบบงานราคาถูก

ดูผลงานเราเพิ่มเติม คลิกได้เลยจร้า

รับผลิตกล่องสบู่ ราคาถูก

ผลิตกล่องราคาถูก ระบบการพิมพ์ออฟเซ็ท(Offset) เป็นระบบการพิมพ์ที่ใช้กันมากที่สุดทั่วโลกในปัจจุบัน เพราะมีความคมชัดสวยงามคุณภาพสูง มีความละเอียดมาก การออกแบบอาร์ตเวิร์ค ไม่ว่าจะออกแบอย่างไร การพิมพ์ก็ไม่ยุ่งยากมากจนเกินไป ประกอบกับความก้าวหน้า ในการทำเพลทแม่พิมพ์ และการแยกสี เพื่อออกฟิล์ม และ เพลทแม่พิมพ์ ซึ่งในปัจจุบันทำให้ยิ่งพิมพ์จำนวนมากเท่าไหร่ก็จะยิ่ง ผลิตกล่องราคาถูก ลงมากเท่านั้น

ระบบการพิมพ์ออฟเซ็ท(Offset)

ขั้นตอนและ หลักการการพิมพ์ระบบ ออฟเซ็ท

การพิมพ์วิธีนี้ใช้แผ่นเพลทแม่พิมพ์เป็นโลหะพื้นแบนแต่นำมายึดติดกับลูกโมแม่พิมพ์(Plate cylinder) จะมีลูกกลิ้งน้ำทาน้ำบนแผ่น แม่พิมพ์ ก่อนลูกกลิ้งน้ำนี้เรียกว่าลูกนี้ (Water roller) หรือ (dampening roller) แล้วจึงมีลูกหมึกทาหมึกบนแม่พิมพ์ หมึกที่เกาะติดเพลทแม่พิมพ์นี้ จะถูกถ่ายทอดลงบนลูกโมยาง (Rubber cylinder) ลูกโมยางนี้เป็นลูกโมโลหะทรงกลมแต่ถูกหุ้มไว้ด้วย แผ่นยาง โดยจะนำแผ่นยางมายึดติดกับลูกโม ลูกโมยางนี้เมื่อรับหมึกจากแม่พิมพ์แล้วก็จะนำไปพิมพ์ ติดบนแผ่นกระดาษ หรือวัสอื่นๆที่เป็นชนิดงานแผ่น ซึ่ง จะมีลูกโมแรงกด (impressioncylinder)อีกลูกโมหนึ่งจับกระดาษมากดกับ ลูกโมยาง และรับหมึกจากลูกโมยางให้ติดบน กระดาษก็จะได้ชิ้นงานพิมพ์ตามต้องการ ระบบการพิมพ์ออฟเซ็ทจึงจะต้องมีลูกโม 3 ลูก ขนาดเท่าๆกัน หมุนพิมพ์กระดาษ ออกมาแต่ละครั้งในเมื่อหมุนรอบหนึ่ง การพิมพ์หมึกนั้นไม่ได้ผ่านจากแม่พิมพ์ออฟเซ็ทมาพิมพ์ แผ่นกระดาษโดยตรงแต่ถ่าย ทอดมาโดยผ่านลูกโมยางก่อน ดังนั้นภาพที่พิมพ์ก็ดี ภาพก็ดี ที่ปรากฏบนแผ่นแม่พิมพ์จึงเป็น ตัวหนังสือ ที่อ่านได้ตามปกติ ภาพก็เป็นภาพที่ตรงกับภาพที่พิมพ์ออกมา เมื่อแม่พิมพ์พิมพ์ตัวหนังสือลงบนยางตัวหนังสือบนลูกโมยางจะกลับ ซ้ายเป็นขวา และขวาเป็นซ้าย และเมื่อลูกโมยางพิมพ์ลงบนกระดาษก็จะได้ ตัวหนังสือและภาพเป็นปกติตามเช่นเดียวกับแม่พิมพ์ ออฟเซ็ท (เพลทแม่พิมพ์ออฟเซ็ท) การพิมพ์ออฟเซ็ทเป็นวิธีพิมพ์ที่แพร่หลายอยู่มากในขณะนี้ เพราะสามารถพิมพ์ภาพได้ชัดเจน สวยงาม และรวดเร็วในการพิมพ์จำนวนเยอะๆ คุณภาพสูงมาก เครื่องพิมพ์ออฟเซ็ทส่วนใหญ่ที่นิยมพิมพ์กันจะเป็นเครื่องพิมพ์ชนิดแผ่น ส่วนมากหลักของการพิมพ์ offset คือ น้ำกับน้ำมันจะไม่รวมตัวกันซึ่งบนแผ่นแม่พิมพ์จะมีทั้งสองส่วน คือบริเวณที่ไม่มี ภาพก็จะเป็น ที่รับน้ำและในส่วนที่มีภาพก็จะเป็นสารเคมีที่เป็นพวกเดียวกับหมึกหน้าที่ของบริเวณทั้งสองของแม่พิมพ์ออฟเซ็ท

เทคนิคพิเศษการพิมพ์
เทคนิคการพิมพ์แบบพิเศษ

กระดาษที่ใช้ในการผลิตแนะนำเป็นกระดาษอาร์ตการ์ด  300  g ขึ้นไป
การเพิ่มความสวยงามพิเศษ
การปั๊มนูน ปั๊มทอง เหมาะที่จะพิมพ์กล่องบรรจุภัณฑ์ (Packaging) ที่เน้นความหรูหรา การไดคัท เป็นรูปทรงพิเศษ ตามความต้องการของลูกค้า
พิมพ์งานสีพิเศษ สีที่ 5 สีที่6 ใช้พิมพ์เพิ่มสี ในกรณีที่มีสีที่แม่พิมพ์สี CMYK ไม่สามารถพิมพ์ออกมาได้เช่น สีทอง สีเงิน
เทคนิคอื่นๆ
– เคลือบ UV /เคลือบด้าน / เคลือบมัน
– เคลือบยูวีเฉพาะจุด Spot UV
– ปั้มนูน /ปั้มทอง/ ปั้มเงิน / ปั้มสีพิเศษ
– สีพิเศษ (สีสะท้อนแสง สีเฉพาะ)
– ไดคัท (dicut)

ประวัติการพิมพ์ออฟเซ็ทในประเทศไทย

ย้อนไปในปีพ.ศ.2205 (ค.ศ.1662) สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชกรุงศรีอยุธยาโดยมีมิชชันนารีฝรั่งเศสซึ่ง เข้ามาสอนศาสนา ในสมัยนั้น จากจำนวนบาทหลวงที่เข้ามายังประเทศไทย มีสังฆราชองค์หนึ่ง มีชื่อว่า ลาโน(Mgr Laneau)ได้ริเริ่มแต่ง และพิมพ์หนังสือ คำสอนทางคริสต์ศาสนาขึ้น นัยว่าสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงพอพระทัยการพิมพ์ ออฟเซ็ท ตามวิธีฝรั่งของ สังฆราชลาโน ถึงกับทรงโปรดให้ตั้ง โรงพิมพ์ ขึ้นที่เมืองลพบุรี เป็นส่วนของหลวงอีกโรงพิมพ์หนึ่งต่างหาก และต่อมาภายหลังรัช สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระเพทราชาได้ขับไล่บาทหลวงฝรั่งเศสออกจากราชอาณาจักรสยาม กิจการ โรงพิมพ์ ในสมัยอยุธยา จึงหยุดชะงักและไม่ปรากฏว่ามีหลักฐานการพิมพ์หลงเหลืออยู่